Child Safe Friendly Tourism

ทำอย่างไร ? ช่วยอย่างไร ?...

ทำอย่างไร ? ช่วยยังไง? หากพบเห็นเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือ 

ทุกวันนี้มีเด็กที่ตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยง ถูกทารุณกรรม ทางร่างกายและจิตใจโดยใช้ความรุนแรง ข่มขู่และคุกคาม และถูกล่วงละเมิดทางเพศเป็นจำนวนมาก และหลายครั้งที่เด็กต้องการให้ใครสักคน “ช่วยเหลือ”  และหลายครั้งเด็กต้องการที่จะขอความช่วยเหลือจากใครสักคน

1. สิ่งแรกที่คุณควรทำคือ “ให้การช่วยเหลือโดยทันที” 

โดยสังเกตพฤติกรรมและประเมินดูว่า… 

*ท่าทาง สายตา และพฤติกรรมที่แสดงออกของเด็ก เช่น สายตาหลบสายตาหรือมองเหม่อ การพูดติดขัด อยู่ไม่นิ่งหรือไม่? หากดูแล้วว่าผิดปกติให้รีบช่วยเหลือเด็กออกจากสถานการณ์นั้นทันที

*สอบถามคร่าวๆ ถึงปัญหาและข้อมูลส่วนตัว และประเมินความเสี่ยงของปัญหา หากอยู่ระดับที่เสี่ยงมาก ให้ขอความช่วยเหลือจากผู้มีอำนาจตามทางกฎหมายทันที เช่น ตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพรบ.เด็ก

!!เพราะเด็กต้องได้รับการคุ้มครองให้อยู่ในสถานที่ที่ปลอดภัยโดยเร็วที่สุด!!

2. เมื่อเด็กได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ แล้วก็จะเข้าสู่กระบวนการช่วยเหลือคุ้มครอง โดยทีมสหวิชาชีพ ทั้งการสืบหาข้อเท็จจริง วางแผนให้การช่วยเหลือทางด้านสังคมสงเคราะห์เพื่อประเมินว่าต้องส่งเด็กผู้เสียหายเข้ารับการคุ้มครองสวัสดิภาพหรือจัดให้อยู่ในที่ปลอดภัย และประเมินสภาพปัญหาก่อนส่งกลับสู่สังคม

รวมถึงการให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพกายและจิตใจ รวมถึงการให้การบำบัดรักษา และการให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายต่อไป

ท้ายสุดของกระบวนการให้ความช่วยเหลือเด็กก็คือ “การป้องกัน” นั่นเองค่ะ 

โดยการสร้างความตระหนักของปัญหาให้สังคมได้รับรู้ ย่อมเป็นเกราะป้องกันที่ดีให้กับเด็ก

ไม่ว่าจะเป็น การรณรงค์ การจัดทำสื่อให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป หรือแม้แต่การอบรมบุคลากรที่ทำงานด้านเด็ก เป็นต้น

การให้ความช่วยเหลือเด็กในขณะที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยง

คุณเองก็สามารถช่วยเหลือเด็กให้รอดพ้นจากสถานการณ์เลวร้ายเหล่านั้นได้ทันท่วงที

มูลนิธิเพื่อความเข้าใจเด็ก FOCUS

สายด่วนช่วยเหลือเด็ก : 087 174 5797 

 

 

แท็ก